วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 12   เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่  6 กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)


      ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ  การอ่าน และการเขียน ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ  จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม

เด็กสามารถบอกได้ถึงจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายว่าไม่เท่ากัน 


เด็กสามารถรวมกลุมหรือแยกกลุ่มได้



สาระที่ 2 การวัด(Measurement)


                           เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา




การตวงเพื่อวัดปริมาตร การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก หรือความเบาได้  รู้จักค่าของเงินเหรียญ และธนบัตร  บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน ,ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช่บอกเกี่ยวกับวัน  เช่น วันนี้ , พรุ่งนี้ ,  เมื่อวานนี้  

สาระที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)


   รู้จักการใช้คำศัพท์ ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง  รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ   อย่างเช่น
  •   ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก               
  •   รูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
  •   การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
  •   การสร้างสรรค์ผลงานจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
                









สาระที่ 4 พีชคณิต (Algebra)


              เข้าใจแบบรูป และความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง








สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)


     รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชาย กี่คน มีนักเรียนหญิงกี่คน ,หนูมีตากี่ดวง , หนูกับเพื่อนมีขารวมกันกี่ขา เป็นต้น

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 


    มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

                                                              *กิจกรรมวันนี้ @-@

อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้เลือกวาดรูปทรง ดิฉันเลือกทรงสี่เหลี่ยม จากนั้นให้วาดเป็นรูปสัตว์



^^ นก ^^



ความรู้ที่ได้รับ

ได้รับความรู้เนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ เราสามารถเอาไปปรับใช้ในวิชาชีพในอนาคตได้ และได้เรียนรู้การทำผลงานสร้างสรรค์จากรูปทรง ฝึกคิดจินตนาการสร้างสรรค์ไปด้วย


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  5  เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่  5  กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.


* วันนี้ไม่มีการเรียนเนื่องจากเป็นวันพ่อแห่งชาติ










วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  28  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  4  กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.


วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองาน ซึ่งกลุ่มดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก

เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ





กลุ่มที่ 2 การวัด




 การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย

กลุ่ม 3 พีชคณิต


  ตัวอย่าง การจำแนกสี ของเด็ก

                  
1


   
                               2
  
พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง



กลุ่มที่ 4 เรขาคณิต


       


             


การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง 
- ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้ 
- ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว  
- พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น บล็อครูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม


กลุ่ม 5 วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น




  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ และจำแนก หรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกออกเป็น ตาราง กราฟ แผนภูมิ ได้ เป็นต้น


ความรู้และการนำไปใช้

การสอนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ต้องให้เด็กปฏิบัติจริง เด็กได้มีประสบการณ์ เช่นการนับ การดูรูปร่างรูปทรง รู้จักสังเกตและแก้ปัญหา การจำแนกสี  การวัด ซึ่งเราควรให้เด็กได้ปฏิบัติจริงและคอยดูอยู่ข้างๆ สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้






วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  21  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  3  กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

ในการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัยโดยจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง จำนวนห้า จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ ทักษะการสอนทางคณิตศาสตร์ฯลฯ ดังนี้

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ·       ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ·       พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
  • ·       ให้เด็กรู้จักและใช้ขบวนการหาคำตอบ
  • ·       ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ·       ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง


ทักษะการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ·       การสังเกต (Opservation)
  • ·       การจำแนกประสาท (Classifying)
  • ·       การเปรียบเทียบ (Comparing)
  • ·       การจัดลำดับ (Ordering)
  • ·       การจัด (Measurement)
  • ·       การนับ (Counting)
  • ·       รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

·       ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
·       ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
·       รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
·       ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
·       ค่าความเร็ว - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
·       อุณหภูมิ - เบ็น ร้อน อุ่น เดือด


กิจกรรมในวันนี้ @_@

วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้วาดรูปวงกลมและเขียนตัวเลขที่ชอบลงไป 
ดิฉันเขียน เลข7 จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษสีให้ทำเป็นกลีบดอกไม้เท่าจำนวนเลขที่เราเขียน





ความรู้ที่ได้รับ

      กิจกรรมวันนี้ทำให้รู้ว่าเราควรให้เด็กฝึกคิด ไม่มีการบังคับเด็ก ให้เด็กได้คิดตามจินตนาการของเด็กและในเวลาเดียวกันก็ได้สอนคณิตศาสตร์ไปด้วย ให้เด็กเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออก









วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  14  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  2  กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ ความหมายของคณิตศาสตร์ ระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์การพูด การเขียน ตัวเลข จำนวน การวัด เลขาคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ทั้งนี้อาจารย์ยังได้บอกถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการสำรวจ การคิดแก้ปัญหา  แล้วต่อด้วยทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจท์ ตามขั้นต่างๆ สอนเรื่องการอนุรักษ์ โดยการจับคู่ การเปรียบเทียบปริมาตรรูปทรง  การนับ  จับกลุ่ม โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาคือการเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร คือน้ำในแก้วสองใบ แล้วก็การนับหรือจับคู่ก้อนหิน และหลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถาม เรียนผ่านสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ยิ่งเด็กสัมผัสกับของจริง เด็กก็จะมีประสบการณ์มากขึ้น เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ใช้คำถามปลายเปิดในการสร้างความเข้าใจ


กิจกรรม^^

อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ที่มีเท้า เสร็จแล้วอาจารย์แจกกระดาษสีให้ทำรองเท้าของสัตว์ที่วาด^^





ความรู้และการนำไปใช้

ได้วิธีในการสอนเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถามได้ประโยชน์ทั้งเด็กและตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เปรียบเทียบรูปทรงต่างๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตได้








วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  7  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  1  กลุ่มเรียน  103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.


ในการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้แจกแจงในเรื่อง Course Syllabusได้ชี้แจงเกี่ยวกับแนวการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ได้อธิบายรายวิชาเกี่ยวกับการศึกษาความหมาย  ความสำคัญ  แนวคิด  หลักการ  และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์  และมีข้อตกลงเกี่ยวการเรียนวิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
  •     ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกคร
  •     มาเรียนเกินเวลา  15  นาที  จะถือว่าสาย
  •     ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า  80 %  ของเวลาเรียนทั้งหมด
  •    ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ  หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในเวลาเรียน
  •     งานที่มอบหมาย   ต้องส่งตรงตามเวลากำหนด
  •     งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
  •     ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาครูปฐมวัยที่ดี


กิจกรรมในวันนี้
ให้นักศึกษาทำ  My  Map  โดยทำจากความรู้ที่เคยเรียนมา  หัวข้อ  “ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ”  ผลงานของแต่ละคนจะออกมาไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของตน




ความรู้และการนำไปใช้

ได้คิด วิเคราะห์ และทบทวนความจำความรู้เดิมของเราและดัดแปลงเป็นความรู้ใหม่ ได้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กมีประโยชน์ต่อเด็กและตัวเราเองเป็นอย่างมาก สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้